วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความเข้าใจผิดในการใช้คำ

ความเข้าใจผิดในการใช้คำ
เนื่องจาก วัยรุ่นจำนวนมากที่เขียนหนังสือแล้วจะมี “คำที่เขียนผิดกัน”เพราะทุกวันนี้ เด็กไทยไม่ได้ อ่านหนังสือ หรือ เขียนหนังสือกันสักเท่าไร ! ยิ่งตอนนี้ก็มีคอมพิวเตอร์เวลาหาข้อมูลทำการบ้าน รายงาน ก็แค่ก๊อปปี้แล้วก็วางก็เลยอาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่ทำให้เด็กไทยเขียนหนังสือ ผิดๆถูกๆ หรือ สะกดคำ ไม่ถูกต้อง เช่น
“สังเกตุ” หรือ “สังเกต”
คำนี้หลายคนเข้าใจว่า ต้องเขียนว่า “สังเกตุ” คือ มีสระอุ ใต้ “ต”แต่ที่ถูกต้องตามพจนานุกรม จะต้องเขียนว่า “สังเกต” คือ ไม่มีสระอุ เพราะหากเติมสระอุ เมื่อใด ความหมายจะผิดเพี้ยน
“นะคะ” หรือ “นะค่ะ”
อีกคำหนึ่งที่มักเห็นเขียนผิดกันบ่อยครั้ง คือคำว่า “นะคะ” กับ “นะค่ะ” คำที่ลงท้ายว่า “คะ” ใช้กับการบอกกล่าว คำที่ลงท้ายว่า “ค่ะ” ใช้กับการ รับคำ แต่เรามักเห็น เขียนคำว่า “นะค่ะ” เป็นคำบอกกล่าว เช่น “อย่าลืมซื้อเค้ก มาฝาก นะค่ะ” ซึ่งจริงๆ ต้องเขียนว่า “นะคะ” (ออกเสียงค๊ะ) โดยไม่ต้องเติม ไม้เอก เพราะว่า…
“คะ” อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น ไม่มีวรรณยุกต์ ออกเสียงตรี เช่นเดียวกับ “นะ” “จ๊ะ” “วะ”
“ค่ะ” อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น มีวรรณยุกต์เอก ออกเสียงโท เช่นเดียวกับ “น่ะ” “จ้ะ” “ว่ะ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น